วันอาสาฬหบูชา
ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ทรงตรัสรู้เป็นครั้งแรก จึงถือได้ว่าวันนี้เป็นวันเริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาแก่ชาวโลก และด้วยการที่พระพุทธเจ้าทรงสามารถ แสดง เปิดเผย ทำให้แจ้ง แก่ชาวโลก ซึ่งพระธรรมที่ทรงตรัสรู้ได้ จึงถือได้ว่าพระองค์ได้ทรงกลายเป็นสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ คือทรงสำเร็จภารกิจแห่งการเป็นพระพุทธเจ้าผู้เป็น "สัมมาสัมพุทธะ" คือทรงเป็นพระพุทธเจ้าผู้สามารถแสดงสิ่งที่ทรงตรัสรู้ให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ซึ่งแตกต่างจาก "พระปัจเจกพุทธเจ้า" ที่แม้จะตรัสรู้เองได้โดยชอบ แต่ทว่าไม่สามารถสอนหรือเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ตามได้ ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระธรรม"
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมสำเร็จพระโสดาบันเป็นพระอริยบุคคลคนแรก และได้รับประทานเอหิภิกขุอุปสมบทเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนา และด้วยการที่ท่านเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในโลกดังกล่าว พระรัตนตรัยจึงครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก ด้วยเหตุนี้วันอาสาฬหบูชาจึงมีชื่อเรียกว่า "วันพระสงฆ์"ดังนั้นวันอาสาฬหบูชาจึงถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนาดังกล่าว
วันอาสาฬหบูชามีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่ 3 ประการ คือ
1)
เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาคือ แสดงพระธรรมเป็นครั้งแรกมีชื่อว่า “ธัมจักรกัปปวัตนสูตร” ซึ่งมีใจความสำคัญกล่าวถึง
อริยสัจ 4
2)
เป็นวันที่เกิดพระสงฆ์สาวกขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก
3) เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบสมบูรณ์
คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
วันเข้าพรรษา
การเข้าพรรษา เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งพระภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตาม หมายถึง
การอธิษฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง
ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ดังนั้นวันเข้าพรรษา หมายถึงวันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด
หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่นตลอด๓เดือนในฤดูฝน ในวันเข้าพรรษา ถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ จะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ
ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา
ภิกษุจะอธิษฐานใจตนเองว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน
ความสำคัญของวันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษานี้มีความสำคัญต่อพุทธศาสนิกชนและเป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาด้วยเหตุผลดังนี้
1) พระภิกษุจะหยุดจาริกไปยังสถานที่อื่นๆแต่จะเข้าพักอยู่ประจำในวัดแห่งเดียวตามพุทธบัญญัติ
2) การที่พระภิกษุอยู่ประจำที่นานๆ ย่อมมีโอกาสได้สงเคราะห์กุลบุตรที่ประสงค์จะอุปสมบทเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและสงเคราะห์พุทธบริษัททั่วไป
3) เป็นเทศกาลที่พระพุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุขและความชั่วต่าง
ๆ เช่น การดื่มสุราสิ่งเสพติด และการเที่ยวเตร่เฮฮา เป็นต้น
4) นอกจากเป็นเทศกาลที่พุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุขและความชั่วต่าง ๆ แล้วในช่วงเวลาพรรษา
พุทธศาสนิกชนทั่วไปจะบำเพ็ญทาน รักษาศีลฟังธรรม และเจริญภาวนามากขึ้น
พิธีทางศาสนา
การบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลเข้าพรรษานี้ยังมีประเพณีสำคัญอยู่
2 ประเพณี ควรนำมากล่าวไว้ ณ ที่นี้ ดังนี้
1)
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ประเพณีนี้คงเกิดขึ้นจากความจำเป็นที่ว่าสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้กันดังปัจจุบัน
เมื่อพระสงฆ์จำพรรษารวมกันมาก ๆก็จำต้องปฏิบัติกิจวัตรเช่น
การทำวัตรสวดมนต์เช้ามืดและตอนพลบค่ำ การศึกษาพระปริยัติธรรมกิจกรรมเหล่านี้ล้วนต้องการแสงสว่างโดยเฉพาะ
แสงสว่างจากเทียนที่พระสงฆ์จุดบูชาพระรัตนตรัยและเพื่อต้องการใช้แสงสว่างโดยตรงด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนจึงนิยมหล่อเทียนต้นใหญ่
กะว่าจะจุดได้ตลอดเวลา ๓ เดือนไปถวายพระภิกษุในวัดใกล้ ๆบ้านเป็นพุทธบูชา
เทียนดังกล่าวเรียกว่า เทียนจำนำพรรษา
2)
ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝน
การถวายผ้าอาบน้ำฝนนี้
เกิดขึ้นแต่สมัยพุทธกาล คือ มหาอุบาสิกา ชื่อว่า
วิสาขาได้ทูลของพระบรมพุทธานุญาตให้พระสงฆ์
ได้มีผ้าอาบน้ำสำหรับผลัดเปลี่ยนเวลาสรงน้ำฝนระหว่างฤดูฝน
นางวิสาขาจึงเป็นสตรีคนแรกที่ได้ถวายผ้าอาบน้ำฝนแด่พระสงฆ์ด้วยเหตุนี้
เมื่อถึงวันเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชน ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยราชธานี
จึงนิยมนำผ้าอาบน้ำฝนไปถวายผ้าอาบน้ำฝนถวายพระสงฆ์ผู้จะอยู่พรรษา
พร้อมกับอาหารและเครื่องใช้ที่จำเป็นต่างๆแม้ในปัจจุบัน
พุทธศาสนิกชนไทยก็คงยังปฏิบัติกิจกรรม อย่างนี้อยู่บางวัดมีการแจกฎีกานัดเวลา
ประกอบพิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน (วัสสิกสาฎก) หรือ ผ้าจำนำพรรษาและเครื่องใช้อื่นๆ ณ
ศาลาบำเพ็ญกุศลของวัดใกล้บ้าน การปฏิบัติตนของข้าพเจ้าเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษานี้
เวลาเช้าข้าพเจ้าได้ไปร่วมทำบุญตักบาตร สมาทานศีล
ที่วัดโพธิ์ศิลา บ้านเปือย ตำบลเปือย
อำเภอลืออำนาจ จังหวัดอำนาจเจริญ
กับเพื่อนๆของข้าพเจ้า
พอถึงเวลาค่ำข้าพเจ้าก็ได้นำดอกไม้ ธูปเทียน
ไปที่วัดกับเพื่อนๆและคุณยายของข้าพเจ้า เพื่อที่จะเข้าร่วมพิธีเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ
แต่ก่อนที่จะเริ่มเวียนเทียนข้าพเจ้าก็ได้เข้าไปในพระอุโบสถ เพื่อทำวัดสวดมนต์เย็น
นั่งสมาธิ และฟังพระสงฆ์เทศนา
(นั่งสมาธิ)
(ฟังพระสงฆ์เทศนาธรรม )
(เวียนเทียนรอบอุโบสถ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น